สมัครสมาชิก / เข้าสู่ระบบ
หรือ
หากคุณยังไม่ได้เป็นสมาชิกกับเรา !
การดำเนินการต่อถือว่าคุณยอมรับ
ข้อกำหนดและเงื่อนไข และ นโยบายความเป็นส่วนตัว
เราอาจส่งข่าวสารให้ท่าน ท่านสามารถปิดการรับข่าวสาร
ได้โดยเปลี่ยนการตั้งค่าในบัญชีของท่าน
เราจะไม่ส่งข่าวสารโดยไม่ได้รับอนุญาตจากท่าน
สมัครสมาชิก / เข้าสู่ระบบ
หากคุณยังไม่ได้เป็นสมาชิกกับเรา !
หรือเข้าสู่ระบบด้วย
หรือ
สั่งซื้อทันทีโดยไม่สมัครสมาชิก
การดำเนินการต่อถือว่าคุณยอมรับ
ข้อกำหนดและเงื่อนไข และ นโยบายความเป็นส่วนตัว
เราอาจส่งข่าวสารให้ท่าน ท่านสามารถปิดการรับข่าวสาร
ได้โดยเปลี่ยนการตั้งค่าในบัญชีของท่าน
เราจะไม่ส่งข่าวสารโดยไม่ได้รับอนุญาตจากท่าน
ตะกร้าสินค้า
รายการสินค้าที่สั่งซื้อ
ยังไม่มีคำสั่งซื้อ
แนะนำสำหรับคุณ
PRODUCTS
CUSTOMER SERVICE
ABOUT US
PROMOTION
REWARDS
HELPING
Gen ติดจอ สมองคุณกำลังถูกมือถือทำร้ายอยู่หรือเปล่า?
Gen ติดจอ สมองคุณกำลังถูกมือถือทำร้ายอยู่หรือเปล่า?
           
              โทรศัพท์มือถือ หรือ smartphone เป็นหนึ่งในสิ่งอำนวยความสะดวกยอดนิยมที่ได้กลายมาเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตใครหลายคน หรืออาจกลายเป็นปัจจัยที่ 5 ของการใช้ชีวิตในทุกวันนี้ไปแล้ว แต่การที่เรามีความต้องการใช้งานสิ่งใดมากเกินไป ย่อมมักจะมีผลเสียตามมาเสมอ และเป็นที่มาของหลากหลายงานวิจัยที่วิเคราะห์ให้เห็นถึงผลกระทบต่อคนที่เป็น Gen ติดจอ หรือผู้ที่ติดมือถือ เช่น ผู้ที่ใช้มือถือเล่นโซเชียลเกินวันละ 12 ชม. โดย Youtube คือแพลตฟอร์มที่ถูกใช้งานมากที่สุด [7] ซึ่งกลุ่มคน Genติดจอ คือ คำเรียกกลุ่มคนยุคใหม่ที่มีพฤติกรรมผูกพันกับหน้าจอ ไม่ว่าจะเป็น มือถือ แท็บเล็ต คอมพิวเตอร์ หรือโทรทัศน์ โดยใช้อุปกรณ์เหล่านี้ตลอดทั้งวัน ทั้งในเรื่องงาน การเรียน ความบันเทิง หรือแม้แต่การพักผ่อน
              กลุ่มนี้ไม่ได้จำกัดแค่เจเนอเรชันใดเจเนอเรชันหนึ่ง แต่รวมถึงคนทุกวัยที่ใช้ชีวิตอยู่กับหน้าจออย่างต่อเนื่อง เช่น
  • วัยทำงานที่ต้องประชุมออนไลน์ตลอดวัน
  • นักเรียน/นักศึกษาที่เรียนผ่านหน้าจอ
  • ผู้สูงอายุที่ติด YouTube หรือดูซีรีส์ทั้งวัน
  • หรือแม้แต่วัยรุ่นที่สลับจอระหว่าง TikTok, IG, และ Netflix

              กลุ่มคนเหล่านี้จะได้รับผลกระทบจากแสงสีฟ้าที่มาจากหน้าจออุปกรณ์อิเล็คทรอนิคส์ต่างๆ ส่งผลให้เกิดผลเสียต่อดวงตา สมอง และส่วนอื่น ๆ ของร่างกาย ดังนี้



           แสงสีฟ้าทำให้เสี่ยงโรคจอประสาทตาเสื่อม                        
           การที่ Genติดจอ ได้รับแสงสีฟ้าจากหน้าจอโทรศัพท์มือถืออย่างต่อเนื่อง หรือเป็นเวลานานเกินไป มีส่วนทำให้เซลล์ต่าง ๆ ในดวงตาถูกทำลาย เนื่องจากในแสงสีฟ้ามีคลื่นแสงพลังงานสูงเหนี่ยวนำทำให้เกิดการสร้าง Free Radical หรือ อนุมูลอิสระในเซลล์ของจอประสาทตา ทำให้เซลล์ค่อย ๆ เสื่อมลง และเกิดเป็นปัจจัยเสี่ยงที่อาจทำให้จอประสาทตาเสื่อมเมื่อมีอายุมากขึ้น ซึ่งอาจทำให้ตาบอดได้ [3]

           แสงสีฟ้าก่อให้เกิดอาการตาล้า
           ดวงตาต้องทำงานหนักมากจากการเพ่งมองภาพบนหน้าจอมือถือที่ประกอบขึ้นมาจากพิกเซลเล็ก ๆ ที่สั่นไหวอยู่ตลอดทุกวินาที อีกทั้งคุณสมบัติของแสงสีฟ้าที่มีคลื่นความยาวสั้นที่สุดที่ทำให้การกระจายของแสงสูงกว่าแสงสีอื่น ๆ นั้น ส่งผลให้ระบบการทำงานของดวงตาทำงานลำบาก เกิดปัญหาในการโฟกัสภาพบนจอ ความคมชัดของภาพอาจลดลง หรือเกิดภาพเบลอและทำให้เกิดภาวะดวงตาอ่อนล้าได้ และการเพ่งมองหน้าจอมือถือเป็นเวลานาน ยังก่อให้เกิดผลเสียอื่น ๆ ตามมาอีกด้วย เช่น อาการปวดหัว ปวดไหล่ มีอาการระคายเคืองตา เจ็บตา ตาพร่าหรือเห็นภาพซ้อน ตาไวต่อแสงแดด น้ำตาไหล ตาแห้ง และมองภาพไม่ชัดเจน ฯลฯ [3]
 
            แสงสีฟ้าทำร้ายสมอง ส่งผลกระทบต่อความจำ สมาธิ เสี่ยงอาการทางระบบประสาท
            ถ้าคุณคือ Genติดจอ ที่มีอาการติดมือถือ เช่น มักจะดูหนังดูซีรีส์บน Youtube หรือ Netflix รวดเดียวจบ แบบอดหลับอดนอน, มีการไถฝีดหน้าจอมือถือท่องโลกโซเชียล facebook Instagram TikTok ตลอดเวลา, มีการเล่นเกมออนไลน์ หรือคุณมีช่วงเวลาที่ต้องอยู่กับหน้าจอโทรศัพท์นาน ๆ เช่น การเข้าร่วมการประชุมทาง Zoom นานถึง 3 ชั่วโมง เป็นต้น ซึ่งรู้หรือไม่ว่า การได้รับแสงสีฟ้านั้นมีทั้งประโยชน์และโทษ หากได้รับในปริมาณที่พอดีและช่วงเวลาที่เหมาะสม
             
              การใช้โทรศัพท์มือถือหรือการได้รับแสงสีฟ้าในเวลากลางวัน มีส่วนทำเกิดความรู้สึกกระตือรือร้น มีส่วนช่วยให้เกิดเรียนรู้ ช่วยในการจดจำและอารมณ์ดีขึ้น
              ในด้านตรงกันข้าม จากข้อมูลพฤติกรรมการใช้โทรศัพท์มือถือของคนไทย ตั้งแต่ต้นปี 2565 ผลสำรวจพบว่า Genติดจอ ใช้เวลากว่า 4 ชั่วโมง 48 นาที ไปกับแอปพลิเคชั่นในโทรศัพท์มือถือ ซึ่งมีหลายคน อาจเล่นโทรศัพท์มือถือตั้งแต่ตื่นนอนไปจนถึงหลับตานอนไปพร้อม ๆ กัน (ข้อมูลรายงาน Digital Stat 2022 ของ We Are Social ที่จะเจาะลึก Data & Insight การได้รับแสงสีฟ้าจากการติดมือถือ)
              ซึ่งในช่วงเวลาก่อนเข้านอน 2-3 ชั่วโมงนั้น เป็นช่วงเวลาที่กลไกในร่างกายหรือระบบการทำงานของร่างกาย ได้แก่สายตา ไต เยื่อหุ้มหัวใจ เริ่มเข้าสู่โหมดพักผ่อน แต่กลับถูกรบกวนจากแสงสีฟ้า ส่งผลให้สมองยังคงตื่นตัว และสั่งการไม่ให้หลั่งสารเมลาโทนินออกมา ทำให้ไม่รู้สึกง่วงแม้ว่าจะอยากนอนแค่ไหน เพราะยังคงถูกกระตุ้นด้วยแสง ซึ่งกลไกการนอนหลับจะเริ่มขึ้นเมื่อคุณปิดหน้าจอโทรศัพท์มือถือ ภายในห้องมืดสนิท เพื่อให้สารเมลาโทนินทำงานได้
             สารเมลาโทนิน เป็นฮอร์โมนสำคัญที่มีส่วนช่วยควบคุมการนอนหลับ ซึ่งแสงสีฟ้าจากหน้าจอมือถือมีส่วนทำให้ต่อมไพเนียล (Pineal gland) ที่สร้างฮอรโมนเมลาโทนิน (Melatonin) จากสมองลดน้อยลง และส่งผลกระทบทำให้นอนไม่หลับ หรือหลับไม่สนิท และส่งผลกระทบต่อการตื่นที่มีส่วนทำให้ต้องเผชิญกับอาการเหนื่อยล้าในเช้าวันถัดไป อีกทั้งเกิดผลในระยะยาวเมื่อเราต้องนอนดึกบ่อย ๆ ก็จะส่งผลให้คุณภาพการนอนยิ่งแย่ลงเรื่อย ๆ และเมื่อเราต้องอดนอนบ่อย ๆ การตื่นเช้าก็ยิ่งไม่สดชื่น ไม่แจ่มใส อารมณ์หงุดหงิด สมองเบลอ ขี้หลงขี้ลืม เพราะนาฬิกาชีวิตที่ทำงานสัมพันธ์กับ Growth Hormone (ฟื้นฟูร่างกายขณะนอนหลับ), Cortisol Hormone (ฮอร์โมนความเครียด) แปรปรวนไปด้วย และสามารถเชื่อมโยงกับความเสี่ยงที่เพิ่มขึ้นต่อภาวะซึมเศร้าและปัญหาสุขภาพจิตอื่น ๆ ได้ อีกทั้งยังมีงานวิจัยของมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด ที่แสงสีฟ้าจะรบกวนฮอร์โมนที่ควบคุมความหิวที่อาจเพิ่มความเสี่ยงต่อการเป็นโรคอ้วนได้ โดยทดสอบด้วยการเปรียบเทียบผลกระทบจากการได้รับแสงสีฟ้า กับแสงสีเขียวที่มีคลื่นความยาวในระดับถัดจากแสงสีฟ้าเพียงแถบเดียวเป็นเวลา 6 ชั่วโมงครึ่ง และยังพบว่าฮอร์โมนเมลาโทนีนที่มีหน้าที่ควบคุมนาฬิกาชีวิตนั้น ถูกยับยั้งโดยแสงสีฟ้า และทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของนาฬิกาชีวิตในกลุ่มผู้ทดลองเป็นสองเท่าของแสงสีเขียวเลย  [1] [2] [3]

             
วิธีหลีกเลี่ยงแสงสีฟ้าจากหน้าจอมือถือและการดูแลสุขภาพสมองไปพร้อม ๆ กัน
              การหลีกเลี่ยงแสงสีฟ้าจากหน้าจออุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์คงเป็นไปได้ยาก ด้วยวิถีการดำเนินชีวิตในปัจจุบัน แต่อย่างไรก็ตาม การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมตัวเองคือสิ่งที่ดีที่สุดที่มีส่วนช่วยปกป้องสมองจากผลกระทบของแสงสีฟ้า
              1.รักษาระยะห่างจากหน้าจอโทรศัพท์มือถือ
              กลุ่มGenติดจอ หรือในผู้ที่ต้องใช้สายตาจ้องหน้าจอโทรศัพท์มือถือเป็นเวลานาน ควรปรับระยะห่างระหว่างดวงตากับหน้าจอโทรศัพท์มือถือ รวมถึงการเลือกใช้โหมดแสงถนอมสายตา ที่ช่วยลดแสงสีฟ้าในหน้าจอโทรศัพท์มือถือลง และมีส่วนช่วยเลี่ยงการเกิดอาการตาล้าได้อีกด้วย
               2.หาเวลาสำหรับการพักสายตาบ่อย ๆ
               กลุ่มGenติดจอ ที่ต้องจ้องหน้าจอโทรศัพท์มือถือทั้งวัน ควรดูแลสมองถนอมดวงตาด้วยการใช้สูตร 20–20–20 คือการหาเวลาพักผ่อนสายตาในทุก 20 นาที ด้วยการเปลี่ยนมุมมองจากหน้าจอมือถือ หันไปหาวิวรอบตัวในระยะไกลประมาณ 20 ฟุต เป็นเวลา 20 วินาที ก็จะมีส่วนช่วยลดอาการเมื่อยล้าของดวงตาเพื่อปกป้องสมองของเราได้
               3.ปรับแสงสว่างของสถานที่ให้เพียงพอ
              การปรับสภาพแสงภายในห้องนอน ห้องทำงาน ห้องนั่งเล่น เป็นวิธีป้องกันผลกระทบจากแสงสีฟ้าที่ดีอีกวิธีหนึ่ง และควรปรับระดับของแสงสว่างที่หน้าจอโทรศัพท์มือถือให้เหมาะสม เพื่อการมองหน้าจออุมือถือที่สบายตามากขึ้น
             4.รับประทานอาหารบำรุงสมอง เพื่อดูแลรักษาและป้องกันภาวะสมองพัง
              เนื่องจากสมองต้องพึ่งพาสารอาหารจำเป็นจากอาหารในมื้อปกติทั้ง 5 หมู่ เพื่อดูแลและส่งเสริมการทำงานของสมองรวมไปถึงทุกส่วนในร่างกาย ทั้งโปรตีน คาร์โบไฮเดรต วิตามิน เกลือแร่ ฯลฯ เราจึงควรกินอาหารอย่างหลากหลายให้ครบ 5 หมู่ และเพิ่มเติมเสริมสารอาหารที่มีส่วนช่วยลดอาการล้าของสมอง เพิ่มการไหลเวียนเลือดเข้าสู่สมอง ช่วยเพิ่มความจำ และบำรุงสมอง ดังนี้


  • พรมมิ บำรุงสมอง เพิ่มความจำ บรรเทาอาการสมองล้า           

           พรมมิ (Bacopa) หรือ ผักมิ เป็นสมุนไพรที่มีคุณประโยชน์ต่อสมอง และนิยมนำมาบริโภคเป็นอาหาร ใช้กินเป็นผักลวกและจิ้มน้ำพริกกันอย่างแพร่หลาย ซึ่งนอกจากจะมีคุณค่าทางโภชนาการมากมายแล้ว พรมมิ ยังมีสรรพคุณในการบำรุงสมอง ช่วยให้มีสมาธิ ช่วยในการจดจำ โดยเฉพาะในทางการแพทย์อายุรเวทของอินเดียก็นำคุณประโยชน์ของพรมมิมาใช้ในเรื่องของการเพิ่มความจำ ฟื้นฟูความจำ บำรุงสมอง ด้วยเช่นกัน
            ในประเทศไทย กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก ได้แนะนำว่า สมุนไพรพรมมิ มีสารออกฤทธิ์ที่ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพของความจำ การตัดสินใจ ช่วยปกป้องเซลล์สมอง มีฤทธิ์ต้านความจำเสื่อม มีส่วนช่วยในเรื่องของการนอนหลับ และลดความวิตกกังวลได้ดี
            การศึกษาในต้นพรมมิ และสารสกัดพรมมิ (Bacopa Extract) พบว่ามีสารสำคัญที่จัดอยู่ในกลุ่มซาโปนิน (saponins)  โดยสารสำคัญที่ออกฤทธิ์หลัก คือ bacoside A มีการศึกษากลไกการออกฤทธิ์ที่เกี่ยวข้องกับการปกป้องระบบประสาทและสมองของพรมมิ รวมถึงการศึกษาพิษวิทยาของสารสกัดพรมมิ และการศึกษาฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาอื่น ๆ ในพรมมิ ทั้งในระดับห้องทดลอง สัตว์ทดลองและการทดลองทางคลินิก (คน) โดยการวิจัยจากคณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร พบว่าสารสกัดจากพรมมิ ช่วยเพิ่มคุณภาพชีวิตให้กับผู้สูงอายุ โดยเพิ่มประสิทธิภาพการทรงตัว เพิ่มการตื่นตัวต่อสิ่งเร้า มีมาธิมากขึ้น เพิ่มความสามารถในการเรียนรู้และความจำ และไม่พบอาการพิษและภาวะข้างเคียงใดๆ ในอาสาสมัคร
           จากการศึกษาพบว่าสารสำคัญในพรมมิมีคุณประโยชน์ต่อเซลล์ประสาทและสมอง เติมเต็มสมรรถภาพทางสมองและความจำได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งยังมีผลการศึกษาวิจัยที่ยืนยันว่า พรมมิมีส่วนช่วยส่งเสริมประสิทธิภาพในด้านความจำและการทำงานของระบบการเรียนรู้ทั้งในกลุ่มเด็ก วัยรุ่น วัยกลางคน และกลุ่มผู้สูงอายุที่เริ่มมีปัญหาทางการทำงานของสมอง โดยมีรายงานการศึกษาในเด็กสมาธิสั้น อายุ 6-12 ปื รับประทานสารสกัดจากพรมมิ มาตรฐาน วันละครั้ง ระยะเวลา 6 เดือน พบว่าเด็กมีประสิทธิภาพในการเรียนรู้ดีขึ้น [9]
การทดสอบฤทธิ์เพิ่มความจำในอาสาสมัครสุขภาพดีจำนวน 33 คน มีอายุเฉลี่ยเท่ากับ 41.6 ปี ทดสอบด้วยวิธีให้อาสาสมัครได้รับสารสกัดพรมมิ วันละ 2 แคปซูล เป็นระยะเวลา 90 วัน เปรียบเทียบกับยาหลอก ผลการทดสอบพบว่าความจำแบบ working memory  (หรือความจำขณะทำงาน หมายถึงความจำซึ่งใช้ในการดึงข้อมูลมาใช้ในช่วงเวลาสั้นๆ ในขณะที่กำลังทำงาน) ของกลุ่มที่ได้รับสารสกัดพรมมิมีประสิทธิภาพที่ดีกว่ากลุ่มที่ได้รับยาหลอก และการประมวลผลข้อมูลมีความผิดพลาดลดลง [10]
ในอาสาสมัครที่มีภาวะสูญเสียความจำเนื่องจากอายุมาก (อายุ 55 ปี ขึ้นไป) ให้รับประทานสารสกัดพรมมิ วันละ 2 ครั้ง เป็นเวลา 12 สัปดาห์ พบว่าอาสาสมัครสามารถควบคุมความคิด และจิตใจได้ดีขึ้น ความจำตรรกะ (logical memory) และการเชื่อมโยงกระบวนการเรียนรู้ดีขึ้น แสดงว่าพรมมิสามารถช่วยฟื้นฟูการสูญเสียความจำที่มีสาเหตุมาจากอายุที่มากขึ้น [11]
            พรมมิ ยับยั้งการทำลายเซลล์ประสาทและสมอง พรมมิอุดมไปด้วยสาร Bacoside ที่มีคุณสมบัติเป็นสารพฤกษเคมีที่มีคุณสมบัติช่วยต้านอนุมูลอิสระ และส่งเสริมการทำงานของระบบประสาท โดย Bacoside  ในพรมมิมีส่วนช่วยยับยั้งเอนไซม์แอซิติลโคลีนเอสเตอเรส (Acetylcholinesterase) ที่เข้าไปทำลายเซลล์ประสาทและสมอง จึงช่วยส่งผลดีต่อความจำ การเรียนรู้ และการทำงานของสมอง [12] รวมทั้งสารบาโคไซด์ (Bacosides) ยังมีส่วนช่วยในการยับยั้งปฏิกิริยาของเยื่อหุ้มเซลล์และสารก่อโรคพรีออนโปรตีน (PrP) ทำให้สามารถลดความรุนแรงและการสะสมของโปรตีน เบต้า-อะไมลอยด์ (beta-amyloid) หนึ่งในสาเหตุหลักของการเป็นโรคอัลไซเมอร์ได้ [13]
            พรมมิช่วยผ่อนคลายและบรรเทาความเครียด พรมมิช่วยบรรเทาและผ่อนคลายความเครียดจากการทำงาน ลดหรือคลายความวิตกกังวล เพราะสารสำคัญในพรมมิมีส่วนช่วยลดระดับของฮอร์โมนคอร์ติซอล (Cortisol) ที่เกี่ยวข้องกับความเครียดความกังวล โดยมีวิจัยตีพิมพ์ในวารสาร Evidence-Based Complementary and Alternative Medicine (2013) พบว่าผู้ที่รับประทานพรมมิเป็นประจำมีระดับคอร์ติซอลลดลง และมีอารมณ์ดีขึ้นอย่างเห็นได้ชัด [14]
              พรมมิมีส่วนช่วยขยายหลอดเลือดในสมอง พรมมิมีส่วนช่วยในการขยายขนาดของหลอดเลือดในสมอง ทำให้เกิดการหมุนเวียนเลือดที่ดีขึ้น ส่งผลให้ออกซิเจนเข้าไปเลี้ยงสมองได้ดีขึ้น ทำให้เซลล์สมองแข็งแรงและทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ [15]
              พรมมิช่วยลดการอักเสบ การศึกษาพบว่าสารสกัดจากพรมมิสามารถยับยั้งการหลั่งของไซโตไคน์ (Cytokines) ที่ก่อให้เกิดการอักเสบ เช่น โปรตีน Tumor Necrosis Factor-alpha (TNF-α) ที่มีบทบาทในการกระตุ้นการอักเสบ และโปรตีน Interleukin-6 (IL-6) ที่มีบทบาทในควบคุมกระบวนการอักเสบ, การเจริญเติบโตของเซลล์เม็ดเลือด และการกระตุ้นการตอบสนองของภูมิคุ้มกัน จากเซลล์ไมโครเกลีย ((Microglia) ที่เป็นเซลล์ภูมิคุ้มกันหลักที่อยู่ในระบบประสาทส่วนกลาง ทำหน้าที่กำจัดสิ่งแปลกปลอมและควบคุมสภาพแวดล้อมในสมองให้ปลอดภัย จึงทำให้ลดการเกิดการอักเสบเรื้อรังในระบบประสาทได้ [16]


  • โสมเกาหลี ผ่อนคลายสมอง ลดอาการสมองล้า บำรุงสมอง
            โสมเกาหลีมีประสิทธิภาพในการรักษาโรคทางระบบประสาทและสมอง เช่น โรคหลอดเลือดในสมอง อัลไซเมอร์ หรือความผิดปกติของระบบประสาทชนิดเฉียบพลันหรือชนิดเรื้อรังอื่น ๆ โดยรากของโสมเกาหลีมีสารสำคัญที่ชื่อว่า จินเซ็นโนไซด์ (Ginsenosides) ซึ่งเป็นสารกลุ่มไตรเทอร์ปินซาโปนิน (Triterpene Saponins) ทื่มีโครงสร้างทางเคมีหลากหลาย โดยมีมากกว่า 150 ชนิด และพบได้ในโสมเท่านั้น ที่สำคัญ มีคุณประโยชน์มากมายต่อสมองของเรา อีกทั้งยังมีส่วนช่วยลดภาวะเครียดออกซิเดชัน (Oxidative Stress) หรือมีส่วนช่วยป้องกันและบรรเทาความเสียหายของเซลล์ประสาทที่เป็นผลมาจากโรคหลอดเลือดสมองอีกด้วย
              มีผลการศึกษามากมายที่เกี่ยวข้องกับสมอง พบว่าเซลล์ประสาทและสมองมีแนวโน้มที่จะถูกทำลายโดยสารอนุมูลอิสระที่มาจากปัจจัยต่าง ๆ เช่น จาการใช้ชีวิตประจำวันที่เสี่ยงต่อการได้รับมลพิษ การกินอาหารที่ไม่มีประโยชน์ ทำให้ได้รับสารอาหารไม่เพียงพอ การขาดวิตามินบี 12 และพบว่าสมองของคนเราเริ่มเกิดความเสื่อมจากวัย (Age related cognitive decline) โดยเริ่มตั้งแต่อายุเพียง 20 - 30 ปีเท่านั้น โดยเฉพาะกลุ่มคนวัยทำงาน และจากผลการศึกษาต่าง ๆ เหล่านี้ ทำให้ค้นพบความลับของสารสำคัญในโสมเกาหลี ดังนี้
              โสมเกาหลี ช่วยลดภาวะความเครียด สารจินเซ็นโนไซด์ ชนิด Rb1 ในโสม มีการส่งเสริมสมดุลของระบบประสาทโดยออกฤทธิ์ผ่านการทำงานของสารสื่อประสาทเซโรโทนิน (Serotonin) ที่มีบทบาทสำคัญในการควบคุมอารมณ์ ความสุข และความวิตกกังวลในสมอง โดยช่วยลดภาวะความเครียดเรื้อรังในสมอง ส่งผลให้สมองทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ [17]
              โสมเกาหลี ดีต่อระบบการเรียนรู้และการจดจำ สารจินเซ็นโนไซด์ชนิด Rb1 มีคุณสมบัติสำคัญในการส่งเสริมการทำงานของสมอง โดยช่วยต้านอนุมูลอิสระที่เป็นสาเหตุของความเสื่อมในเซลล์สมอง และส่งเสริมระบบประสาท Cholinergic ผ่านการเพิ่มระดับหรือประสิทธิภาพของสารสื่อประสาท อะเซทิลโคลีน (Acetylcholine) ซึ่งมีบทบาทหลักในการควบคุมกระบวนการเรียนรู้และความจำ [18] นอกจากนี้ยังมีรายงานว่าจินเซ็นโนไซด์ Rb1 มีฤทธิ์ช่วยลดความวิตกกังวล โดยเพิ่มระดับ GABA ในสมองส่วนหน้าของหนู ซึ่งทำให้สมองผ่อนคลายมากขึ้นและส่งผลดีต่อสมาธิและการประมวลผลข้อมูล [19]
              โสมเกาหลี ช่วยให้เลือดไปเลี้ยงสมองดีขึ้น สารจินเซ็นโนไซด์ ชนิด Rb1 ในโสมเกาหลี มีส่วนช่วยคลายกล้ามเนื้อที่ผนังหลอดเลือด  ยับยั้งการแข็งตัวของผนังหลอดเลือด ส่งผลให้เกิดการไหลเวียนเลือดไปเลี้ยงสมองได้ดี มีส่วนช่วยในการป้องกันเซลล์ประสาทของสมองส่วน hippocampus จากภาวะการขาดเลือด (Ischemic) ได้อีกด้วย


  • วิตามินบี 12 เพิ่มประสิทธิภาพการจดจำ บำรุงระบบประสาทและสมอง
             วิตามินบี 12 หรือโคบาลามิน (Cobalamin) เป็นวิตามินชนิดที่ละลายได้ในน้ำ มีแร่ธาตุโคบอลท์ (Cobalt) เป็นองค์ประกอบ โดยร่างกายมนุษย์ไม่สามารถสังเคราะห์วิตามินบี 12 ได้เอง เนื่องจากการขาดเอนไซม์ที่จำเป็นในการสร้างวิตามินชนิดนี้ ดังนั้นการได้รับวิตามินบี 12 ต้องมาจากแหล่งอาหารภายนอกหรือจากอาหารเสริม [22] ซึ่งส่วนใหญ่แล้วจะพบในอาหารจำพวก เนื้อสัตว์ ปลา ปู กุ้ง หอย ไข่ นม เครื่องในสัตว์ นม ผลิตภัณฑ์จากนม เป็นต้น ซึ่งวิตามินบี12 นั้น มีบทบาทสำคัญในกระบวนการสังเคราะห์สารพันธุกรรม (DNA และ RNA) ซึ่งเป็นสารพันธุกรรมที่มีบทบาทในการแบ่งเซลล์และการเจริญเติบโตของร่างกาย รวมทั้งสร้างเซลล์เม็ดเลือดแดงและเซลล์ต่าง ๆ ของร่างกาย สังเคราะห์โปรตีน ไขมัน และคาร์โบไฮเดรต มีส่วนช่วยในการทำงานของระบบประสาทและสมอง โดยเร่งปฏิกิริยาสังเคราะห์ methionine เพื่อสร้างสารสื่อประสาทและการส่งสัญญาณประสาท หากขาดวิตามินบี 12 อาจมีอาการ ดังนี้ [6]
              - การทำงานของระบบประสาทผิดปกติ มีอาการสมองล้า การรับรู้ช้าลง หลงลืมได้ง่าย
              - มีอาการซีดจากภาวะโลหิตจาง หรือมีอาการตัวเหลือง
              - มีอาการชาตามปลายมือและปลายเท้า
              - มีอาการอ่อนเพลีย ไม่ค่อยมีแรง
              - มีความรู้สึกเบื่ออาหาร
              - เสี่ยงเป็นโรคทางระบบประสาทและสมองได้



[1] https://www.liveandfit.com/th/blog/นาฬิกาแห่งชีวิต-ไขรหัสลับสุขภาพ-ที่คุณอาจไม่รู้   นาฬิกาแห่งชีวิต Live & Fit ไขรหัสลับสุขภาพ ที่คุณ (อาจ) ไม่รู้
[2] https://samitivejchinatown.com/th/article/eyes-lasik/what-is-blue-light   บทความสุขภาพ / รู้จักแสงสีฟ้า (Blue Light) ภัยเงียบทำร้ายดวงตา เป็นอันตรายอย่างไร
[3] https://www.pobpad.com/แสงไฟจากหน้าจอ-ภัยเงียบ   ข้อมูลสุขภาพที่ครบถ้วนและเชื่อถือได้ / POBPAD
[4] https://science4youth.wordpress.com/2020/11/07/screen-time-and-the-effects-on-our-brains/  วารสารนักวิทยาศาสตร์เยาวชนนานาชาติ งานวิจัยวิทยาศาสตร์ที่ผ่านการตรวจสอบโดยผู้เชี่ยวชาญสำหรับนักเรียน เขียนโดยนักเรียน
[5] https://www.pobpad.com/แสงไฟจากหน้าจอ-ภัยเงียบ    / แสงสีฟ้าจากหน้าจอ ภัยเงียบที่อาจส่งผลกระทบต่อสุขภาพ / POBPAD
[6] https://www.liveandfit.com/th/blog/สมองล้า-ขี้ลืมบ่อย-เสี่ยงโรคสมองเสื่อม   สมองล้า ขี้ลืมบ่อย เสี่ยงโรคสมองเสื่อม
[7] https://today.line.me/th/v2/article/rmNgyBn   Gen Z ติดจอ กระทบสุขภาพจิตแต่เลิกไม่ได้
[8] https://www.thrivewellnessth.com/post/bluelight   ผลกระทบต่อการนอนหลับ ของแสงสีฟ้า จากมือถือ แท็บเลต
[9] Dave, U. P., Dingankar, S. R., Saxena, V. S., Joseph, J. A., Bethapudi, B., Agarwal, A., & Kudiganti, V. (2014). An open-label study to elucidate the effects of standardized Bacopa monnieri extract in the management of symptoms of attention-deficit hyperactivity disorder in children. Advances in mind-body medicine, 28(2), 10-15.
[10] Stough, C., Downey, L. A., Lloyd, J., Silber, B., Redman, S., Hutchison, C., & Nathan, P. J. (2008). Examining the nootropic effects of a special extract of Bacopa monniera on human cognitive functioning: 90 day double‐blind placebo‐controlled randomized trial. Phytotherapy Research, 22(12), 1629-1634.
[11] พิชานันท์ ลีแก้ว. (2555). บทความวิชาการ “พรมมิ สมุนไพรรักษาอาการความจำเสื่อม”. จุลสารข้อมูลสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล, 29(3), 16-19.
[12] Logesh, R., & Sathasivampillai, S. V. (2023). A triterpenoid saponin bacoside-A3 from the aerial parts of Bacopa monnieri (L.) Wettst. with acetylcholinesterase enzyme combating Alzheimer's disease. South African Journal of Botany, 156, 177-185.
[13] Malishev, R., Nandi, S., Kolusheva, S., Shaham-Niv, S., Gazit, E., & Jelinek, R. (2016). Bacoside-A, an anti-amyloid natural substance, inhibits membrane disruption by the amyloidogenic determinant of prion protein through accelerating fibril formation. Biochimica et Biophysica Acta (BBA)-Biomembranes, 1858(9), 2208-2214.
[14] Benson, S., Downey, L. A., Stough, C., Wetherell, M., Zangara, A., & Scholey, A. (2014). An acute, double‐blind, placebo‐controlled cross‐over study of 320 mg and 640 mg doses of Bacopa monnieri (CDRI 08) on multitasking stress reactivity and mood. Phytotherapy Research, 28(4), 551-559.
[15] Kamkaew, N., Paracha, T. U., Ingkaninan, K., Waranuch, N., & Chootip, K. (2019). Vasodilatory effects and mechanisms of action of Bacopa monnieri active compounds on rat mesenteric arteries. Molecules, 24(12), 2243.
[16] Nemetchek, M. D., Stierle, A. A., Stierle, D. B., & Lurie, D. I. (2017). The Ayurvedic plant Bacopa monnieri inhibits inflammatory pathways in the brain. Journal of ethnopharmacology, 197, 92-100.
[17] Liu, X., Wang, J., Wu, L., Wang, Y., Zhao, M. (2013). Ginsenoside Rb1 reduces anxiety-like behaviors and increases serotonin in brain regions. Behavioural Brain Research, 252, 63–72. https://doi.org/10.1016/j.bbr.2012.10.033
[18] Zhang, R., Liu, Z., Li, C., Hu, S. (2008). Ginsenoside Rb1 improves learning and memory by increasing acetylcholine levels in hippocampus. Brain Research, 1207, 189–193. https://doi.org/10.1016/j.brainres.2008.02.080
[19] Liu, Y., Zong, X., Huang, J., Guan, Y., Li, Y., Du, T. & Zhang, Y. (2019). Ginsenoside Rb1 regulates prefrontal cortical GABAergic transmission in MPTP-treated mice. Aging (albany NY), 11(14), 5008.
[20] Li, W., Hu, Z., & Chen, M. (2015). Ginsenoside Rb1 protects hippocampal neurons from ischemic damage in a rat model of transient global cerebral ischemia. Phytotherapy Research, 29(3), 409–414. https://doi.org/10.1002/ptr.5209
[21] Wang, Q., Li, H., & Zhang, X. (2013). Protective effects of ginsenoside Rb1 on the ischemic brain: A potential role for mitochondrial function and oxidative stress. Brain Research, 1509, 40–48. https://doi.org/10.1016/j.brainres.2013.03.040
[22] Devalia, V., & Mikhail, I. (2018). Vitamin B12 and its role in the brain: A review of the literature. Journal of Neurochemistry, 145(1), 1-13.
แชทผ่านไลน์ @Liveandfit